|
|
|
|
:: สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ :: |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ภาวะมีบุตรยาก
|
ภาวะมีบุตรยาก เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนไทยในยุคปัจจุบันมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ทำงานหนัก นอนดึก มีความเครียด ยิ่งในปัจจุบันปัญหาภาวะมีบุตรยากยิ่งเป็นกันมากขึ้น และนับเป็นปัญหาครอบครัวอย่างหนึ่งในปัจจุบัน และภาวะมีบุตรยากจัดเป็นปัญหาระดับชาติอย่างหนึ่งเพราะเมื่อประชากรเกิดน้อยลงย่อมไม่มีประชากรรุ่นใหม่มาช่วยพัฒนาประเทศ ดังนั้นปัญหาภาวะมีบุตรยากจึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอีกต่อไป
|
|
|
ลักษณะอาการของภาวะมีบุตรยาก
ภาวะมีบุตรยากหมายถึง คู่สามีภรรยาที่อยู่ด้วยกัน
มีเพศสัมพันธ์กันได้ตามปกติและสม่ำเสมอ
โดยไม่ได้คุมกำเนิดด้วยวิธีใดมาเป็นเวลา 1-2 ปี
แต่ยังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หรือผู้ที่เคยมีบุตรแล้ว
แต่อยากมีบุตรเพิ่มแล้วมีเพศสัมพันธ์กันตามปกติและสม่ำเสมอแต่ไม่สามารถตั้ง
ครรภ์ได้ภายในเวลา 1-2 ปี ก็ถือว่าเป็นภาวะมีบุตรยากเช่นกัน
|
|
|
สาเหตุการเกิดโรค
สาเหตุของการเกิดภาวะมีบุตรยากสามารถแบ่งได้แบ่ง 2 สาเหตุหลักคือ สาเหตุจากฝ่ายชาย และสาเหตุจากฝ่ายหญิง
สาเหตุจากฝ่ายชาย โดยส่วนมากสาเหตุจากฝ่ายชายจะมาจาก ความผิดปกติของอสุจิ ได้แก่ จำนวนอสุจิมีน้อย อสุจิไม่แข็งแรง อสุจิแหวกว่ายผิดปกติ โดยมีสาเหตุดังนี้
1.ความเครียด และอารมณ์ด้านลบต่าง ๆ ซึ่งอารมณ์เหล่านี้มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เกิดภาวะกรดในร่างกาย หรือทำให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เกิดความผิดปกติ ซึ่งอาจมีผลให้ร่างกายผลิตอสุจิได้ไม่เต็มประสิทธิภาพได้
2.พักผ่อนไม่เพียงพอ การที่ร่างกายไม่ได้พัก หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ย่อมส่งผลให้ร่างกายอ่อนล้า ซึ่งอาจเกิดภาวะร่างกายอ่อนล้าเกินกว่าที่จะสร้างอสุจิที่มีคุณภาพได้
3.ทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ อาจทำให้สารอาหารที่ร่างกายได้รับไม่ครบถ้วน อาจเป็นผลให้อสุจิได้รับสารอาหารไม่พียงพอ
4.ต่อมลูกหมากผิดปกติ ต่อมลูกหมากจัดเป็นอวัยวะที่สร้างของเหลวสีขาวคล้ายน้ำนมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของน้ำอสุจิ การที่ต่อมลูกหมากผิดปกติอาจเป็นผลให้การผลิตอสุจิผิดปกติได้
5.ท่อน้ำเชื้อตีบตัน ซึ่งอาจเป็นผลให้การไหลของอสุจิไหลไม่เต็มที่ ไม่เพียงพอต่อการตั้งครรภ์
6.มีความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ตั้งแต่กำเนิด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการสืบพันธุ์ตั้งแต่กำเนิดทำให้การผลิตอสุจิทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
สาเหตุจากฝ่ายหญิง โดยส่วนมากสาเหตุจากฝ่ายหญิงจะเกิดในระบบมดลูก และรังไข่โดยมักจะมีสาเหตุดังนี้
1.เกิดจากภาวะไข่ไม่ตก โดยปกติร่างกายของผู้หญิงจะมีการตกไข่ทุก ๆ รอบเดือน หากในช่วงนี้ไข่ได้รับน้ำอสุจิก็สามารถเกิดการตั้งครรภ์ได้ แต่ก็มีในบางกรณีที่การตกไข่ไม่เกิดขึ้น หรือไข่ที่ตกไม่มีคุณภาพเพียงพอที่จะทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้
2.ภาวะฮอร์โมนผิดปกติ เป็นภาวะที่ฮอร์โมนเพศหญิงเกิดภาวะผิดปกติ ไม่สมดุลทำให้การตกไข่ หรือการมีประจำเดือนผิดปกติทำให้ระบบมดลูกรังไข่ เกิดความไม่สมบูรณ์ทำให้การตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ยาก
3.พังผืด เนื้องอกมดลูก อาการดังกล่าวทำให้มดลูกเกิดความผิดปกติ เช่น บวม พองโต หรือมีช็อกโกแลตซีสต์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้ระบบมดลูกรังไข่เกิดความผิดปกติ อาจเป็นผลทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ยาก
4.ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ที่เป็นแต่กำเนิด ในผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการสืบพันธุ์ตั้งแต่กำเนิดทำให้ระบบมดลูก และรังไข่เกิดความผิดปกติซึ่งอาจเป็นผลทำให้เกิดการตั้งครรภ์ยากได้
นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น ความอ้วน โภชนาการไม่ถูกต้อง ความเครียด การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
|
|
|
การตรวจภาวะมีบุตรยากในทางแพทย์แผนตะวันตก
สำหรับการตรวจรักษา "ภาวะมีบุตรยาก" ในผู้หญิง จำเป็นต้องตรวจทั้งหมด 3 ประเภทก่อนการ คือ
1 การตรวจอุลตร้าซาวน์ที่ช่องท้อง มดลูก และรังไข่ ในช่วง 1 สัปดาห์หลังประจำเดือนหมด
2 การตรวจฮอร์โมนเพศ 5 ชนิด คือ FSH, LH, Estradiol, Prolactin และ Progesterone
3 การตรวจดูท่อนำไข่ว่ามีการอุดตันหรือไม่
สำหรับการเตรียมตัวก่อนการรักษา "ภาวะมีบุตรยาก" ในผู้ชาย จำเป็นต้องตรวจน้ำเชื้ออสุจิก่อน เพื่อดูว่าเชื้ออสุจิมีปริมาณมากหรือน้อยและมีความแข็งแรงหรือไม่ และควรตรวจหลังจากมีเพศสัมพันธ์ไปแล้ว 3 - 4 วัน
|
|
|
การวินิจฉัยทางแพทย์แผนจีน
ภาวะมีบุตรยากทางการแพทย์แผนจีนแบ่งแยกกลุ่มอาการของโรคได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ไตพร่อง ชี่ของตับอุดกั้น เลือดคั่ง เสมหะความชื้นอุดกั้น
1.ภาวะมีบุตรยากที่เกิดจากไตพร่อง
1.1.ภาวะมีบุตรยากที่เกิดจากชี่ของไตพร่อง
อาการทางคลินิก : แต่งงานมานานแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ ประจำเดือนผิดปกติมาไม่สม่ำเสมอหรือไม่มีประจำเดือน ประจำเดือนมามากหรือน้อย สีคล้ำ มึนหัว หูอื้อหูมีเสียง เมื่อยเอวเข่าอ่อน รู้สึกเบื่อหน่าย ปัสสาวะสีใสปริมาณมาก
ลักษณะลิ้น : ลิ้นซีด ฝ้าบาง
ลักษณะชีพจร : ชีพจรจมเล็ก
1.2.ภาวะมีบุตรยากที่เกิดจากไตหยางพร่อง
อาการทางคลินิก : แต่งงานมานานแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ ประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนด ประจำเดือนมาน้อย ประจำเดือนมีสีซีดคล้ำ หรืออาจพบในผู้หญิงที่มักจะประจำเดือนขาด ความต้องการทางเพศลดลง รู้สึกเย็นที่ท้องน้อย ตกขาวปริมาณมาก ใสเหมือนน้ำ หรือมีการเจริญผิดปกติของมดลูก มึนหัว หูอื้อหูมีเสียง มีอาการปวดขา ปวดเอว ตกขาวเยอะ ถ่ายเหลว ปัสสาวะมีสีใส ขอบตาดำ สีหน้าดำคล้ำ
ลักษณะลิ้น : ลิ้นซีดคล้ำ ฝ้าขาว
ลักษณะชีพจร : ชีพจรจมเล็กช้าอ่อนแอ
1.3.ภาวะมีบุตรยากที่เกิดจากไตหยินพร่อง
อาการทางคลินิก : แต่งงานมานานแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ ประจำเดือนมาก่อน ประเดือนมาน้อย หรืออาจพบว่ามีประจำเดือนขาด ประจำเดือนมีสีแดงสด หรือมีภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก ร่างกายซูบผอม ปวดเอว ปวดขา เวียนศีรษะ หูอื้อหูมีเสียง นอนไม่หลับ ฝันเยอะ ร้อนทั้งห้า ตาลาย ใจสั่น ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น
ลักษณะลิ้น : ลิ้นแดงแห้งแตกเป็นแผนที่ ฝ้าน้อย
ลักษณะชีพจร : ชีพจรเล็กหรือเล็กเร็ว
2.ภาวะมีบุตรยากที่เกิดจากชี่ของตับติดขัดอุดกั้น
อาการทางคลินิก : แต่งงานมานานแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ ประจำเดือนมาก่อนหรือหลังกำหนดไม่แน่นอน ปริมาณของประจำเดือนมามากหรือน้อยไม่แน่นอน ปวดท้องประจำเดือน หรือก่อนประจำเดือนมามีอาการหงุดหงิดโมโหง่าย อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย คัดตึงเต้านม
ลักษณะลิ้น : ลิ้นแดงคล้ำหรือด้านข้างลิ้นมีจุดเลือดคั่ง
ลักษณะชีพจร : ชีพจรตึงเล็ก
3.ภาวะมีบุตรยากที่เกิดจากมีเลือดคั่งที่มดลูก
อาการทางคลินิก : แต่งงานมานานแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ ประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนดมากๆหรือประจำเดือนมาปกติ ปวดท้องประจำเดือน ปริมาณของประจำเดือนมามากน้อยไม่แน่นอน สีม่วงคล้ำ มีลิ่มเลือดหรือก้อนเลือด เมื่อก้อนเลือดหรือลิ่มเลือดหลุดออกอาการปวดจะลดลง การไหลออกของประจำเดือนไม่คล่อง ภาวะมีบุตรยากที่เกิดจากมีเลือดคั่งที่มดลูกอาจส่งผลให้ท่อนำไข่เกิดการตีบตัน หรือ เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ มีเนื้องอกฝังอยู่ในมดลูก เกิดพังผืดในมดลูก ปากช่องคลอดมีพังผืด รู้สึกหน่วงๆแน่นๆไม่สบายบริเวณทวารหนัก เจ็บอวัยวะเพศขณะมีเพศสัมพันธ์
ลักษณะลิ้น : ลิ้นม่วงคล้ำหรือด้านข้างลิ้นมีจุดเลือดคั่ง ฝ้าขาวบาง
ลักษณะชีพจร : ชีพจรตึงหรือตึงเล็กฝืด
4.ภาวะมีบุตรยากที่เกิดจากเสมหะชื้นอุดกั้น
อาการทางคลินิก : แต่งงานมานานแต่ยังไม่ตั้งครรภ์ มักพบในผู้ป่วยหรือบุคคลที่มีรูปร่างอ้วน ประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนด ประจำเดือนขาด หรือไม่มาเลย ตกขาวปริมาณมากสีขาวเหนียวไม่มีกลิ่น เวียนศีรษะ ใจสั่น แน่นหน้าอก ใบหน้าซีดขาว
ลักษณะลิ้น : ลิ้นซีดอ้วน ฝ้าขาวหนา
ลักษณะชีพจร : ชีพจรลื่น
|
|
|
|
|
|
การรักษาทางแพทย์แผนจีน
สยามแพทย์ทางเลือกคลินิกทำการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีการดังนี้
ทานยาสมุนไพรจีนแคปซูลที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ตามแต่ละอาการ เช่น
- ภาวะมีบุตรยากตามกลุ่มอาการชี่ของไตพร่อง
ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ บำรุงชี่ไต บำรุงไต
- ภาวะมีบุตรยากตามกลุ่มอาการไตหยางพร่อง
ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ บำรุงหยางไต บำรุงไต
- ภาวะมีบุตรยากตามกลุ่มอาการไตหยินพร่อง
ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ บำรุงหยินไต บำรุงไต
ฝังเข็มตามกลุ่มอาการ ทำการฝังเข็มปรับสมดุลร่างกายตามแต่ละกลุ่มอาการ เช่น
- ภาวะมีบุตรยากตามกลุ่มอาการชี่ตับติดขัดอุดกั้น ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ บำรุงชี่ตับ เพิ่มการหมุนเวียนของชี่ ลดการอุดกั้น
- ภาวะมีบุตรยากตามกลุ่มอาการเลือดคั่งที่มดลูก ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ สลายเลือดคั่งที่มดลูก ปรับประจำเดือน บำรุงมดลูก
- ภาวะมีบุตรยากตามกลุ่มอาการเสมหะชื้นอุดกั้น ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ ขับเสมหะชื้นที่อุดกั้น บำรุงไต บำรุงม้าม
|
|
|
สมุนไพรบำรุงร่างกาย
1.กล้วย ผลไม้พื้นบ้านไทยหาทานง่าย แต่คุณประโยชน์มหาศาล กล้วยจัดเป็นผลไม้ที่มีสารอาหารมากมายโดยเฉพาะโพแทสเซียม ซึ่งจะช่วยในการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท รวมไปถึงระบบหลอดเลือด และหัวใจ ซึ่งมีผลให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงการตั้งครรภ์จึงง่ายขึ้น
2.พุทราแดงจีน จัดเป็นพืชที่มีสารอาหารประเภท สังกะสี ธาตุเหล็ก แมงกานีส
ปริมาณสูงซึ่งสารอาหารดังกล่าวเป็นสารอาหารที่มีผลในการบำรุง
และเสริมสร้างโลหิต
ดังนั้นการทานพุทราแดงจีนจึงช่วยในการบำรุงเลือดได้เป็นอย่างดี
โดยมากในประเทศไทยจะพบพุทราแดงจีนในรูปแบบอบแห้ง ซึ่งสามารถทานสด
หรือนำมาใช้ประกอบอาหารก็ได้
3.เก๋ากี้ เป็นผลไม้ที่มีการทานมากว่า 2,000 ปี ในตัวเก๋ากี้มีสารอาหารมากมาย
โดยเฉพาะสารโพลีแซคคาไรด์ซึ่งสารดังกล่าวนี้มีหน้าที่ในการฟื้นฟูสภาพเซลให้
ฟื้นคืนสภาพได้ดี บำรุงตับไต และช่วยในการบำรุงสร้างโลหิต
ทำให้ระบบโลหิตทำงานได้ดีขึ้น สามารถนำมาทานสด หรือนำมาประกอบอาหารก็ได้
|
|
|
คำแนะนำจากแพทย์แผนจีน
1.ทำจิตใจให้สบาย งดเครียด งดกังวล
2.ไม่ควรนอนดึก ควรนอนระหว่างช่วงเวลา 22.00 - 05.00 น.
3.ดื่มน้ำอุณหภูมิปกติ หรือน้ำอุ่นให้ได้วันละ 3 ลิตร โดยใช้การจิบเรื่อย ๆ ทั้งวัน
4.ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอ
|
|
|
หมายเหตุ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ความรุนแรงของโรค ระยะเวลาในการเป็น และปัจจัยอื่น ๆ |
|
|
|