|
|
|
|
:: สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ :: |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ต้อกระจก
( Cataract , 白内障 )
|
ดวงตา ถือว่าเป็นอวัยวะที่่สำคัญอย่างมาก คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการที่ร่างกายสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ เกิดจากดวงตา คงไม่ดีแน่หากดวงตาเกิดปัญหาจนไม่สามารถมองเห็นได้ ดังนั้นการรักษาดวงตาจึงเป็นเรื่องที่ควรทำตั้งแต่ปัญหายังไม่เยอะ หากปัญหาบนดวงตาเกิดปัญหาจนไม่สามารถแก้ไขได้ก็คงจะไม่ดีแน่
|
|
|
การเกิดภาพบนดวงตา
การที่ดวงตาสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ เกิดจากการที่แสงตกกระทบเข้ามายังอวัยวะต่าง ๆ บนดวงตาจึงสามารถเกิดภาพบนดวงตา ซึ่งอวัยวะต่าง ๆ ที่สำคัญที่มีอยู่ในดวงตาที่ช่วยในการมองเห็นมีดังนี้
- แก้วตา จัดเป็นด่านนอกสุดของดวงตา คือส่วนเยื่อเมือกใสที่อยู่ด้านนอกสุดของดวงตา มีหน้าที่ช่วยให้การหักเหของแสงมีกำลังมากพอที่จะทำให้มีกำลังมากพอที่จะทำให้เกิดการมองเห็น
- ม่านตา เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการปรับปริมาณแสงที่เข้ามาในดวงตา เช่น เวลากลางวันจะเป็นช่วงที่มีแสงเข้มมาก ม่านตาจะทำการปรับลดขนาดให้เล็กลงเพื่อให้แสงที่เข้ามาตกกระทบในตาไม่มากเกินไป และหากเป็นเวลากลางคืนซึ่งเป็นเวลาที่แสงน้อยม่านตาจะทำการขยายกว้างขึ้น เพื่อให้สามารถรับแสงตกกระทบให้เพียงพอต่อการมองเห็นนั่นเอง
- จอประสาทตา หรือเรตินา เป็นส่วนที่อยู่ในสุดของดวงตาภายในมีเซลมากมายเรียงตัวกันซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่ไวต่อแสงมาก มีหน้าที่ในรับแสงที่ส่งมาเป็นภาพแล้วส่งไปยังสมองเพื่อให้ร่างกายสามารถประมวลภาพที่เห็นได้
|
|
|
โรคต้อกระจก
จัดเป็นอาการทางสายตาอย่างหนึ่งทำให้ดวงตาขุ่นมัว จนไม่สามารถรวบรวมแสง หรือทำให้แสงที่เข้าไปยังดวงตาเกิดการกระจายจนไม่สามารถรวมแสงเพื่อให้เกิดภาพเพื่อส่งไปยังสมองได้ ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมองเห็นไม่ชัด มีอาการพร่ามัวเหมือนอยู่ในหมอก ในผู้ป่วยบางรายอาจถึงขั้นมองไม่เห็น ซึ่งอาการดังกล่าวอาจเกิดกับตาข้างเดียว หรือสองข้างก็ได้ และอาการต้อกระจกไม่จัดเป็นโรคติดต่อจึงไม่สามารถแพร่กระจายตาข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้
|
|
|
อาการของโรคต้อกระจก
อาการต้อกระจกเป็นอาการที่มีผลต่อการมองเห็นทางสายตาโดยตรง ผู้ที่มีอาการต้อกระจกจะมีอาการดังนี้
1.มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ไม่ชัด ส่วนใหญ่จะมีอาการตามัวร่วมด้วย เพราะอาการต้อกระจกจะทำให้แก้วกระจกตาเกิดการขุ่นมัวจึงทำให้การรวมแสงเข้ามาในบริเวณตาเกิดความผิดปกติ จึงทำให้มองเห็นไม่ชัด
2.เวลาอยู่ที่ที่มีแสงสว่างมากจะมองไม่ชัด จะเห็นชัดเวลาแสงน้อย หรือมืดสลัว เกิดจากการที่เลนส์ตาเกิดการรวมแสงได้ไม่ดี จึงทำให้การมองในที่สว่างมากทำได้ไม่ดี ตรงข้ามกับบริเวณที่มืดแสงที่เข้ามาในตาเกิดการหักเหน้อยจึงทำให้มองเห็นได้ชัดกว่าที่ที่มีแสงสว่างมาก
3.มักจะเห็นดวงแสงเวลาอยู่ในแสงจ้า หรือเวลามองหลอดไฟ เป็นผลจากการที่อาการต้อกระจกทำให้เกิดการหักเหของแสงในดวงตาเกิดความผิดพลาดทำให้เกิดแสงดังกล่าวในดวงตาได้
4.มีอาการเวียนศีรษะบ่อย เป็นผลจากอาการสายตาผิดปกติทำให้การมองเห็นเกิดความพร่ามัว ในผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถปรับสภาวะการมองเห็นได้ทัน อาจมีการเวียนศีรษะ หรือในบางรายอาจเกิดอาการอาเจียนร่วมด้วย
5.แก้วตาจะเกิดความขุ่นขาว ในช่วงแรก ๆ จะขุ่นใส แล้วจะค่อย ๆ ทึบขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากอาการต้อกระจก
|
|
|
สาเหตุการเกิดต้อกระจก
ต้อกระจกเกิดจากการที่เลนส์แก้วตาเกิดการผิดปกติจากการที่เลนส์แก้วตาเกิดอาการเสื่อมจนทำให้โปรตีนที่เป็นส่วนประกอบหลักของเลนส์แก้วตาเกิดการเรียงตัวอย่างผิดปกติเป็นจนทำให้เกิดอาการขุ่นมัว โดยสาเหตุการ เสื่อมเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น
1.เกิดจากอายุที่มากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะเกิดความเสื่อมตามจุดต่าง ๆ ในบางรายอาจจะมีการเสื่อมบริเวณตาก่อนจึงทำให้มีโอกาสเกิดอาการต้อกระจกได้
2.เกิดจากอุบัติเหตุ ในผู้ป่วยบางรายที่มีการประสบอุบัติเหตุบริเวณตา หรือได้รับการกระทบกระเทือนบริเวณสมองอาจมีผลให้ร่างกายโดยเฉพาะบริเวณดวงตาเกิดความผิดปกติจนเป็นผลให้เกิดอาการต้อกระจกได้
3.เกิดจากการมองจอคอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแสงอัลตร้าไวโอเลตเป็นเวลานาน การมองแสงดังกล่าวเป็นเวลานาน ๆ มีโอกาสให้ระบบดวงตา และประสาทตาเกิดความเสียหายได้ นานวันเข้าจึงมีโอกาสเป็นต้อกระจกได้
4.เกิดจากการใช้ยาบางประเภท เช่น ยาสเตียรอยด์ ยารักษาอาการเบาหวาน เนื่องจากยาบางประเภทมีผลต่อการทำงานของระบบร่างกาย การใช้ยาดังกล่าวนานเข้าย่อมทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติ
|
|
|
อาการต้อกระจกในทรรศนะแพทย์แผนจีน
ในทางการแพทย์แผนจีนนั้นมองว่าการเกิดโรคต้อกระจกนั้นมาจาก 2 สาเหตุหลัก คือ
1.ภาวะตับและไตทำงานบกพร่อง จะมีอาการดวงตาขุ่นมัวได้ง่าย เมื่อกระทบลมน้ำตาจะไหล ในผู้ชายจะมีอาการปัสสาวะบ่อยหรือปัสสาวะติดขัด ปวดเข่าและเอว
ลักษณะลิ้น: ลิ้นสีแดงอ่อน ฝ้าลิ้นขาว
2.ภาวะเลือดและลมปราณพร่อง มักพบในกลุ่มคนหนุ่มสาวที่มีภาวะเลือดจาง อาการที่พบคือ ตาลาย ตาพร่ามัว เวียนศีรษะ มองเห็นเป็นเส้นบางๆลอยอยู่บบนลูกตา พูดจาไม่มีแรง
ลักษณะลิ้น: ลิ้นสีแดงอ่อน ฝ้าลิ้นขาว ลิ้นซีดขาว ฝ้าลิ้นขาว
|
|
|
การบำบัดรักษาทางแพทย์แผนจีน
ทานยาสมุนไพรจีนแคปซูลที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ตามแต่ละอาการ เช่น
- อาการต้อกระจกตามกลุ่มอาการตับ และไตทำงานบกพร่องทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ บำรุงตับ บำรุงไต บำรุงสายตา เพิ่มการหมุนเวียนรอบดวงตา
ฝังเข็มตามกลุ่มอาการ ทำการฝังเข็มปรับสมดุลร่างกายตามแต่ละกลุ่มอาการ เช่น
- อาการต้อกระจกตามกลุ่มอาการภาวะเลือดและลมปราณพร่อง
ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ บำรุงเลือด บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา
|
|
|
สมุนไพรบำรุงสายตา
1.เก๋ากี้ ผลไม้จากเมืองจีนสีส้มอมแดง
เก๋ากี้จัดเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารมากมายมีสาร Anti-Aging
ช่วยลดอนุมูลอิสระในร่างกายซึ่งเป็นสารที่ก่อเกิดมะเร็ง ช่วยชลอความชรา
บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ
นอกจากนี้ในแง่ของการบำรุงสายตาเก๋ากี้จัดได้ว่าเป็นอาหารบำรุงสายตาอย่างดี
เนื่องจากเก๋ากี้มีวิตามินเอสูงมาก
ซึ่งวิตามินเอเป็นสารอาหารที่บำรุงสายตาโดยตรงเก๋ากี้จึงมีสรรพคุณช่วยบำรุง
สายตาได้เป็นอย่างดี
2.ฟักทอง เป็นพืชตระกูลเถาไม้เลื้อย ผลฟักทองมีเปลือกสีเขียวเนื้อในเป็นสีเหลือง ฟักทองจัดเป็นผลพืชที่มีวิตามินเอสูงมาก ซึ่งมีผลในการช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ในฟักทองมีสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นเหตุก่อเกิดโรคมะเร็ง วิธีการทาน นำไปนึ่ง หรือนำไปประกอบอาหาร เช่น ผัดฟักทอง
3.แคร์รอต จัดเป็นพืชตระกูลหัวชนิดหนึ่งมีสีส้ม หรือสีม่วง
ในแคร์รอตอุดมไปด้วยวิตามินเอ และสารลูทีน ซึ่งมีผลในการบำรุงสายตา
การทานแคร์รอตเป็นประจำจึงมีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา
นอกจากนี้ในแคร์รอทมีสารเบต้าแคโรทีน
ซึ่งเป็นสารที่ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นเหตุก่อเกิดโรคมะเร็ง
วิธีการทาน ทานสด หรือนำไปทำสลัด หรือนำไปประกอบอาหารอื่น เช่น ผัดผัก
ต้มจืด และอื่น ๆ
|
|
|
คำแนะนำจากแพทย์แผนจีน
1.หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะยาเข้าสเตียรอยด์หรือกินยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ๆ รวมไปถึงการใช้ยาลดความอ้วนบางชนิด
2.หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตา
โดยระวังอย่าให้ดวงตาถูกกระทบกระเทือน
ผู้ที่ทำงานที่มีโอกาสเสี่ยงต่อดวงตาควรสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่อดวงตา
3.ควรสวมแว่นกัดแดดเมื่ออยู่กลางแจ้งท่ามกลางแสงแดดจ้า เพื่อช่วยกรองแสงอัลตราไวโอเลต และไม่มองจ้องดวงอาทิตย์โดยตรง
4.พักสายตาเป็นระยะหากต้องใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ การมองจอโทรศัพท์มือถือ
5.งดการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์จัด
6.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง
และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
โดยเฉพาะอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอสูง ๆ เช่น แคร์รอต ฟักทอง มะเขือเทศ
มะละกอสุก กล้วย เป็นต้น
|
|
|
หมายเหตุ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ความรุนแรงของโรค ระยะเวลาในการเป็น และปัจจัยอื่น ๆ |
|
|
|