|
|
|
|
:: สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์ :: |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โรคงูสวัด
( Herpes zoster , 带状疱疹 )
|
โรคงูสวัด (Herpes zoster) เป็นโรคที่ทางระบบผิวหนังแบบหนึ่ง ผู้ที่เป็นโรคนี้ร่างกายจะเกิดผื่นแดง หรือตุ่มตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้แล้ว ยังมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณที่เป็นผื่นด้วย ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้ต้องทนทุกข์ทรมานจากอาการของโรคทำให้การทำงาน การเรียน การใช้ชีวิตประจำวัน ไม่สะดวก เพราะต้องพะวงกับอาการเจ็บปวด และความเจ็บปวดยังทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายไม่สะดวกอีกด้วย
|
|
|
กลไกการเกิดโรคงูสวัด
โรคงูสวัด (Herpes zoster)
จัดเป็นโรคทางระบบผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อว่า "ไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella-zoster Virus)"
ซึ่งเป็นไวรัสตระกูลเดียวกับไวรัสโรคอีสุกอีใส (Chickenpox, Varicella)
โดยปกติแล้วส่วนมากการที่จะเป็นโรคงูสวัดมักจะเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน หลักการเกิดโรคเป็นดังนี้
- ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสดังกล่าว และภูมิต้านทานอ่อนแอ จนทำให้ร่างกายเกิดโรคอีสุกอีใส
- ภูมิต้านทานของร่างกายแข็งแรงขึ้นสามารถต้านทานไวรัสได้ทำให้หายจากการเป็นโรคอีสุกอีใส
-
เชื้อไวรัสบางส่วนจะฝังตัวและซ่อนตัวอยู่ในปมของระบบประสาทของร่างกายอย่าง
เงียบ ๆ โดยไม่สร้างอาการผิดปกติใด ๆ ต่อร่างกาย
- เมื่อร่างกายเกิดความผิดปกติภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
ทำให้ไวรัสสามารถเจริญเติบโต
และสร้างความผิดปกติต่อร่างกายทำให้เกิดอาการของโรคงูสวัด
กล่าวคือการเกิดโรคงูสวัดเกิดจากกไวรัสจากการเป็นโรคอีสุกอีใสแฝงตัวอยู่ใน
ระบบประสาทเพื่อรอจนกว่าร่างกายจะอ่อนแอพอที่ไวรัสจะทำการโจมตีร่างกายจน
เกิดอาการงูสวัด
|
|
|
อาการของโรคงูสวัด
โรคงูสวัด จะมีอาการเป็นตุ่ม หรือผื่นแดงบนผิวหนังคล้ายโรคอีสุกอีใส จะเกิดเป็นผื่นแดงบนผิวหนัง มีอาการปวดร้อนบริเวณผื่น บางรายอาจมีอาการปวดมากจนมีอาการคล้ายไฟฟ้ากระตุก ในบางรายอาจเจ็บมาจนแม้แต่สัมผัสเบา ๆ หรือสัมผัสกับเสื้อผ้าก็มีอาการเจ็บ อาการเหล่านี้สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้มีอาการงูสวัดเป็นอย่างยิ่ง
โดยลักษณะการกระจายตัวของผื่นไปในทิศทางแนวเส้นกล้ามเนื้อ หรือแนวเส้นประสาทกล้ามเนื้อ หากปล่อยไว้สักระยะหนึ่งผื่นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสหากทิ้งไว้จะแตกออกและกลายเป็นสะเก็ดแผลได้
|
|
|
โรคงูสวัดในทรรศนะแพทย์แผนจีน
ในทางแพทย์แผนจีนมองว่าโรคงูสวัดเกิดจาก 2 ส่วนใหญ่ คือ
1.ปัจจัยภายนอก เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอเป็นผลให้ไวรัสเจริญเติบโต ทำให้เกิดพิษความชื้นขึ้นบริเวณผิวหนังจนเกิดเป็นอาการของโรคงูสวัด
2.ปัจจัยภายใน เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ม้ามพร่อง ตับอ่อนแอ จนเกิดอาการ “ชี่ตับติดขัด” ซึ่งอาการดังกล่าวทำให้เกิดพลังงานคั่งค้างในตับ ทำให้ตับระบายพลังงานไม่ออก
|
|
|
การตรวจวินิจฉัยโรคงูสวัดทางแพทย์จีน
1.งูสวัดเกิดจากความร้อนอุดกั้นเส้นลมปราณตับ 肝经郁热证
อาการทางคลินิก : แผลแดง แสบร้อนแบบเข็มแทง ตุ่มแน่นตึง
ปากขมคอแห้ง หงุดหงิดโมโหง่าย อุจจาระแห้งแข็ง ปัสสาวะเหลือง
ลักษณะลิ้น และชีพจร :ลิ้นแดง
ฝ้าเหลืองหรือเหลืองหนา ชีพจรตึงลื่นเร็ว
2.งูสวัดเกิดจากม้ามพร่องมีความชื้นสะสมอยู่ภายใน 脾虚湿蕴证
อาการทางคลินิก : บริเวณแผลเป็นสีซีด อาการปวดไม่ชัดเจน
มีตุ่มน้ำขึ้นแต่ไม่ตึงแน่นไม่แสบแดงเหมือนอาการแรก ไม่กระหายน้ำ
แน่นท้องรับประทานอาหารได้น้อย อุจจาระเหลว
ลักษณะลิ้น และชีพจร :ลิ้นซีด ฝ้าขาวหรือขาวหนา
ชีพจรจมช้าหรือลื่น
3.งูสวัดเกิดจากลมปราณติดขัดทำให้เลือดคั่ง 气滞血瘀证
อาการทางคลินิก :
หลังจากผื่นลดลงหรือหลังจากผื่นกระจายตัวความเจ็บปวดก็ไม่ได้ลดลง
แผ่กระจายไปบริเวณใกล้เคียง ปวดไม่สามารถทนได้ จะนอนจะนั่งก็ไม่ได้
เป็นหนักติดต่อกันเป็นเดือน หรือเป็นนาน
ลักษณะลิ้น และชีพจร : ลิ้นดำ ฝ้าขาว ชีพจรฝืดเล็ก
|
|
|
การบำบัดรักษาโรคงูสวัดทางแพทย์จีน
1.ทานยาสมุนไพรจีนแคปซูลที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ตามแต่ละอาการ เช่น
- อาการโรคงูสวัดตามกลุ่มอาการความร้อนอุดกั้นเส้นลมปราณตับ ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณระบายไฟตับ ดับพิษระงับปวด
- อาการโรคงูสวัดตามกลุ่มอาการม้ามพร่องมีความชื้นสะสมอยู่ภายใน ทานยาสมุนไพรจีนที่มีสรรพคุณ ทำให้ม้ามแข็งแรง ขับความชื้น ขับพิษ ลดอาการปวด
2.ฝังเข็มตามกลุ่มอาการ ทำการฝังเข็มปรับสมดุลร่างกายตามกลุ่มอาการ เช่น
- อาการโรคงูสวัดตามกลุ่มอาการงูสวัดเกิดจากลมปราณติดขัดทำให้เลือดคั่ง
ทำการฝังเข็มตามจุดเส้นลมปราณที่มีสรรพคุณ ทำให้เลือดและลมปราณไหลเวียนสะดวก ระงับปวด
|
|
|
สมุนไพรบรรเทาอาการโรคงูสวัด
1.ว่านหางจระเข้ นำว่านหางจระเข้ปอกเปลือกล้างยางออกนำว่านหางจระเข้ที่ได้แปะลงบนแผล ซึ่งคุณสมบัติของว่านหางจระเข้จะมีคุณสมบัติฤทธิ์เย็น ดับพิษร้อน ลดการอักเสบ ทำให้ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดจากงูสวัดได้
2.สะระแหน่ นำสะระแหน่มาตำให้มีน้ำมันออกมานำมาพอกในจุดที่เป็นงูสวัด เพราะน้ำมันสะระแหน่มีฤทธิ์ในการต่อต้านไวรัสงูสวัด
3.น้ำส้มสายชูผสมน้ำผึ้ง นำน้ำส้มสายชูผสมน้ำผึ้งให้ข้นหนืดพอประมาณ ทาบริเวณที่ปวดทำให้ตุ่มยุบได้ เพราะน้ำผึ้ง น้ำส้มสายชูจะช่วยให้แผลสมานได้เร็ว และช่วยฆ่าเชื้อโรคบริเวณที่เกิดงูสวัด
|
|
|
คำแนะนำจากแพทย์แผนจีน
1. ควรดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำอุณหภูมิห้อง วันละ 2 - 3 ลิตร โดยใช้การจิบทุก ๆ 10 - 15 นาที
2. นอนพักผ่อนวันละ 8 ชั่วโมง ไม่ควรนอนดึก ควรนอนระหว่าง 22.00 - 06.00 น.
3. ควรงดทานอาหาร มัน ทอด ปิ้ง ย่าง
4. ควรงดอาหารแสลงที่ทำให้อาการงูสวัดกำเริบ
|
|
|
หมายเหตุ ผลการรักษาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ความรุนแรงของโรค ระยะเวลาในการเป็น และปัจจัยอื่น ๆ
|
|
|
|